การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การขนส่งทางทะเลเป็นการขนส่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ยังคงเป็นแหล่งสำคัญของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก
เมื่อกล่าวถึงการลดคาร์บอน ภาคการเดินเรือต้องมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภาคส่วนนี้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักทั้งในด้านสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง
เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น บริษัทฯ ได้นำกรอบการเปิดเผยข้อมูลตามแนวทางของ TCFD มาใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผนวกเข้ากับนโยบายการจัดการของบริษัทฯ กรอบ TCFD ได้แสดงขั้นตอนการดำเนินงานขององค์ประกอบหลักทั้งสี่ ได้แก่: การกำกับดูแล กลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยง ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
การกำกับดูแล
อธิบายการกำกับดูแลของคณะกรรมการเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ >>>>
คณะกรรมการบริษัทฯ ผ่านทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงส่งเสริมให้มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและการกำกับดูแลกิจการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมูลค่าระยะยาวอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริษัทฯ กำกับดูแลความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โอกาส และนโยบายของบริษัทฯ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงรวมถึงการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้แน่ว่าความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศได้ผ่านการพิจารณาในระดับคณะกรรมการบริษัทฯ
อธิบายถึงบทบาทของฝ่ายบริหารในการประเมินและจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ >>>> กรรมการผู้จัดการดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และมีหน้าที่ในการติดตามดูแลความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร การบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ (เทคนิค) โดยดูแลให้แน่ใจว่ามีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้รับการประเมินในทุกขั้นตอนการทำงาน กรรมการ (เทคนิค) มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของเรือทุกลำ รวมถึงกำหนดแผนการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการการดําเนินงาน และกรรมการ (การเงิน) มีหน้าที่ติดตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ตรงกับความคาดหวังเหล่านี้ และรายงานผลต่อกรรมการผู้จัดการและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
กลยุทธ์ของบริษัทฯ – เตรียมความพร้อมสำหรับการเดินเรือในอนาคต
การขนส่งทางทะเลเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำที่สุด และมีความสำคัญต่อการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 2.5-3 ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงระยะยาวที่สำคัญที่ทุกคนต้องให้ความสนใจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการเดินเรือ การประเมินผลกระทบของการขนส่งทางทะเลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ให้คนรุ่นหลัง
หลักปรัชญาของบริษัทฯ ได้นำเอาหลักการสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลมาปรับใช้ รายงานนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ สู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ และวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่คำนึงถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม และบรรษัทภิบาลในการขับเคลื่อนธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะผลักดันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างมาตรการระยะยาว เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การระบุโอกาส และความเสี่ยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความเสี่ยงและโอกาส | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทฯ | กลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง | ||
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) | นโยบาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับ (Policies, Laws & regulations) | · การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนไดออกไซด์และสภาพภูมิอากาศ (ระยะสั้นและระยะยาว 3-20 ปี) | · ต้นทุนสูงขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ที่มีความซับซ้อน · ต้นทุนสูงขึ้นจากการเดินเรือที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และต้นทุนเหล่านี้ไม่สามารถเรียกเก็บจากผู้เช่าเรือได้ · ราคาคาร์บอนสูงขึ้น · กระทบต่อความสามารถในการปล่อยเช่าเรือ เนื่องจากคะแนนด้านสิ่งแวดล้อมไม่ดี |
· เข้าร่วมโครงการเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง · ลงทุนในอุปกรณ์ประหยัดเชื้อเพลิง · รวมราคาคาร์บอนเข้ากับการดำเนินงานและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์กร · ผนวกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลเข้ากับการกำกับดูแล |
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology) | · ความอยู่รอดของธุรกิจด้วยเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ระยะยาว: มากกว่า 10-20 ปี) · การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับปรุงอุปกรณ์ (ระยะกลาง: มากกว่า 3-10 ปี) · ใช้ข้อมูลเส้นทางการเดินเรือและการปล่อยมลพิษเพื่อกำหนดความสัมพันธ์และสร้างรูปแบบความเชื่อมโยง (ระยะกลาง: 3-10 ปี) |
· ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก · ลดการใช้เชื้อเพลิง · ปรับปรุงการดำเนินงานของเรือ · ต้นทุนเพิ่มขึ้น · ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น |
· สำรวจและลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการลดปริมาณการปล่อยมลพิษ · ระบุและนำเทคโนโลยีใหม่และแนวโน้มในอนาคตมาประยุกต์ใช้โดยทีมงานด้านเทคนิคที่มีประสบการณ์สูง · มุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด · สร้างความสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง |
|
การเปลี่ยนแปลงทางการตลาด (Market) | · ขั้นตอนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น (ระยะยาว: มากกว่า 10-20 ปี) · เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) (ระยะยาว: มากกว่า 10-20 ปี) |
· ความต้องการเรือที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำเพิ่มขึ้น · ผลกระทบต่อรายได้และการประเมินมูลค่าเรือเก่าที่มีการใช้เชื้อเพลิงสูง · ผู้นำในอุตสาหกรรมในการนำเรือที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์มาใช้ในเชิงพาณิชย์ |
· ติดตามการปล่อยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของบริษัทฯ · กำหนดเป้าหมายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม · ลงทุนในเรือที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน · วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ · สำรวจการใช้เชื้อเพลิงที่มีการปล่อยมลพิษต่ำหรือการใช้เป็นศูนย์ในเชิงพาณิชย์ |
|
ภาพลักษณ์องค์กร (Reputation) | · ความกังวลของผู้มีส่วนได้เสีย – ความล่าช้าในการนำเรือที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์มาใช้ (ระยะกลาง 3-10 ปี) | · ผลกระทบต่อการดำเนินงานและส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทฯ | · ทำการพัฒนาเรือที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ · เข้าร่วมโปรแกรมต่างๆ เช่น Geeting to Zero Coalition เพื่อสำรวจเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ |
|
ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) | ภัยธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลัน (Acute) | · การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ – อุณหภูมิสูงขึ้น · เพิ่มความรุนแรงและความถี่ของโรคที่เกิดจากสภาพอากาศ (ระยะกลาง 3-10 ปี) |
· สร้างความเสียหายต่อคน ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม · ต้นทุนเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินเรือกระทันหัน |
· การผนวกสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทฯ · ใช้ข้อมูลเรือในการติดตามรูปแบบสภาพอากาศ |
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระยะยาว (Chronic) | · การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพภูมิอากาศระยะยาว ส่งผลให้เกิดพายุที่มีความรุนแรงแบบใหม่ๆ (ระยะยาว 10-20 ปี) | · ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการบรรเทาผลกระทบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายทางกฎหมายและการประกันภัย |